เอกสารตัวอย่าง |
สาเหตุที่เราต้องไปขึ้นทะเบียน การเลี้ยงกุ้งก้ามแดง
เนื่องจากกุ้งก้ามแดง ไม่ใช่สัตว์ประจำท้องถิ่นของประเทศไทยเราน่ะครับ ภาษาอังกฤษคือ เอเลี่ยนสปีชีส์ เพราะฉนั้นถ้าหากมีการนำกุ้งก้ามแดงไปปล่อยตามแหล่งน้ำธรรมชาติแล้วเกิดการแพร่กระจายแล้วจะเกิดความเสียหายให้กับพืชหรือสัตว์น้ำไทย ให้เกิดความเสียหายและสูญพันธ์ุได้ครับ เพราะฉนั้นกรมประมงจึงได้ออกกฎเกณฑ์ควบคุ้มไว้ในเบื้องต้นน่ะครับ และกรมประมงก็จะทำการประกาศในหลายๆพื้นที่ หากพื้นที่ไหนที่มีการประกาศจากกรมประมงแล้วยังไม่ไปขึ้นทะเบียน ภายใน 60 วัน จะมีความผิดและจะต้องมีการเสียค่าปรับอีกด้วยครับ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น กุ้งก้ามแดง สัตว์เลี้ยงของเรานั้นก็ใช่ว่า จะเป็นเอเลี่ยนอย่างที่กล่าวกันมาทั้งหมดน่ะครับ เพราะท่านที่เลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือแม้กระทั่งตัวผู้เขียนเองก็ทราบกันดี ว่า กุ้งก้ามแดงไม่ได้เป็นตัวทำลายระบบนิเวศน์อย่างที่โดนกล่าวหา และนอกจากจะไม่ได้เป็นผู้ล่าแล้วตัวกุ้งก้ามแดงเองเสียด้วยซ้ำที่เป็นผู้ถูกล่าน่ะครับ ไม่เช่นนั้นแล้วก็คงจะไม่มีการนำกุ้งก้ามแดงลงไปเลี้ยงในนาข้าวได้หรอกน่ะครับ ก็เป็นที่ถกเถียงกันไปตามความคิดของแต่ล่ะหน่วยงานน่ะครับ และเป็นที่สรุปคือ ผู้ที่จะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง ต้องไปแจ้งลงทะเบียนการเลี้ยงที่กรมประมง ตามพื้นที่ ของผู้ที่ประสงค์จะเลี้ยงกุ้งก้ามแดงครับ ไม่เช่นนั้นจะถือว่าเป็นกระทำผิดต่อสัตว์ควบคุมอย่างกุ้งก้ามแดงครับ ทำตามกฏไว้ ดีกว่าจะมาเสียใจที่หลัง (ดั่งคําพังเพยที่ว่า เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย)
การจดทะเบียนกุ้งก้ามแดง
เอกสารในการเพื่อไปจดทะเบียนในการเลี้ยงกุ้งก้ามแดง
- สำเนาบัตรประชาชน 1 ใบ
- สำเนาทะเบียนบ้าน 1 ใบ
- รูปแผนที่บ้านที่ทำการเพาะเลี้ยงกุ้ง
- รูปสถานที่เลี้ยงกุ้ง
จดทะเบียนได้ที่กรมปะมงใกล้บ้านที่เราได้ทำการเพาะเลี้ยง ก็จะมีการสอบถามจากเจ้าหน้าที่ว่าเราเลี้ยงกุ้งก้ามแดงในลักษณะใด เลี้ยงในบ่อดินหรือเลี้ยงในบ้านแบบในตู้ปลาหรือในกล่อง เจ้าหน้าที่ก็จะสอบถามแล้วก็กรอกรายละเอียดลงในแบบฟอร์มการขอจดทะเบียน เราต้องแจ้งจำนวนของกุ้งก้ามแดงที่เราเลี้ยงให้เจ้าหน้าที่กรอก และก็จะมีวันเวลาในการที่เราเริ่มเลี้ยง ไม่ยุ่งยากครับ และก็จะมีกฏและข้อแนะนำในการเลี้ยงแจ้งให้แก่ผู้ที่เพาะเลี้ยงเพื่อจำหน่ายว่า ควรเลี้ยงอย่างไรไม่ให้กุ้งหลุดออกมาสู่แม่น้ำตามธรรมชาติได้บ้าง อย่างเช่นการทำบ่อให้สูงกว่าน้ำที่อยู่ในบ่อประมาณ 30 ซม.เป็นต้นเพื่อไม่ให้กุ้งปีนออกมาได้ หรือถ้าใครเลี้ยงในบ้านที่ทำบ่อเอง ก็ป้องกันโดยการหาที่ปิดบ่อหรือไม่ให้มีสายที่พอจะให้กุ้งปีนออกมาได้
กรมประมงก็มีข้อยกเว้นสำหรับท่านที่เลี้ยงกุ้งก้ามแดงเพื่อไว้ดูเล่น เนื่องจากเป็นสัตว์น้ำประเภทสวยงามก็ไม่ต้องไปลงทะเบียนก็ได้ แต่หากท่านคิดว่าการที่เราเลี้ยงไว้เพื่อดูเล่นแล้ว ในอนาคตกุ้งอาจขยายพันธ์ุมากขึ้นแล้วอาจมีการนำไปขายเพื่อเป็นรายได้เสริมแล้วล่ะก็ ผู้เขียนแนะนำให้ไปจดทะเบียนผู้เพาะเลี้ยงจะดีกว่าน่ะครับ ป้องกันไว้เผื่อเกิดปัญหาทางกฏหมายตามมาน่ะครับ แต่ถ้าคิดว่าเลี้ยงไว้เพื่อความเพลิดเพลินหรือไว้ทำเป็นอาหารภายในครอบครัว ยังไงก็ไม่ทำการค้าก็ไม่ต้องไปจดทะเบียนครับ ผู้เขียนหวังว่าบทความนี้คงเป็นประะโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อย
ข้อมูลโดย : baannoi.com
การจดทะเบียน เพื่อเลี้ยงลกุ้งก้ามแดง
Reviewed by Crayfish
on
09:30:00
Rating: