สำหรับผู้เลี้ยงเครฟิชส่วนใหญ่มักจะเฝ้ารอว่าเครฟิชที่เลี้ยงอยู่จะลอกคราบเมื่อไร มีคำถามอยู่บ่อยว่าทำไมเครฟิชของตนไม่ลอกคราบเสียที การที่เครฟิชจะลอกคราบเมื่อไรนั้น ขึ้นอยู่กับฮอร์โมนที่ควบคุมการลอกคราบ ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิดคือ ฮอร์โมนเร่งการลอกคราบ กับฮอร์โมนยับยั้งการลอกคราบ ฮอร์โมนทั้งสองนี้จะทำงานควบคู่กับไป และมีการควบคุมซึ่งกันและกันไปตามระยะของการลอกคราบและปัจจัยต่างๆ ผมขอยกปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการลอกคราบ ซึ่งจะแบ่งเป็นข้อๆ ดังนี้
2. อายุหรือขนาด เครฟิชเป็นสัตว์ที่จะเติบโตขึ้น โดยวัดจากรอบของการลอกคราบ สำหรับอายุน้อยก็จะลอกคราบถี่หน่อย เพื่อการเติบโตขึ้น แต่สำหรับเครฟิชที่โตเต็มวัยความถี่การลอกคราบก็จะลดลง
3. ปริมาณแร่ธาตุและสารอาหารที่สะสมไว้ในตัว ในระหว่างกระบวนการลอกคราบเครฟิชต้องใช้โปรตีน และคาร์โบไฮเดรตในปริมาณสูงและต้องสะสมไว้อย่างเพียงพอ เพราะในระว่างกระบวนการลอกคราบเครฟิชจะไม่กินอาหาร เมื่อสะสมอาหารไว้อย่างเพียงพอแล้ว ฮอร์โมนเร่งการลอกคราบก็จะสูงในกรแสเลือด
4. เครฟิชเพศเมียที่ผสมพันธุ์แล้ว จะไม่ลอกคราบจนกว่าลูกๆ จะฟักเป็นตัวช่วงนี้กระแสเลือดก็จะมีฮอร์โมนยับยั้งการลอกคราบอยู่สูง
5. เครฟิชที่ถูกปรสิตเกาะ ช่วงนี้ก็จะไม่ลอกคราบหรือลอกคราบช้า หรือไม่ลอกคราบไม่สมบูรณ์ได้ เพราะถูกปรสิตดึงสารอาหารไปใช้จนไม่สามารถสะสมอาหารและแร่ธาตุไว้ได้
6. เครฟิชที่สูญเสียระยางค์ต่างๆ เช่น ก้ามหรือขา ยิ่งจำนวนรยางค์ที่สูญเสียยิ่งมากก็ยิ่งจะไปกระตุ้นให้เร่งสร้างฮอร์โมนกระตุ้นการลอกคราบเห็นได้ชัดเจนในเครฟิชที่สูญเสียรยางค์มากกว่า 4 ชิ้นขึ้นไป จะลอกคราบเร็วอย่างมากเมื่อเทียบกับภาวะปกติ ในขณะเดียวกันก็จะเข้าสู่กระบวนการลอกใหม่ (Autotomy) เพื่อสร้างรยางค์ทดแทน ซึ่งเครฟิชมักจะสูญเสียรยางค์จากการต่อสู้กันเองเป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะถูกตัดขาด หรือสลัดรยางค์เพื่อลดการสูญเสียก็เกิดขึ้นได้เสมอ หากเลี้ยงเครฟิชรวมกัน และไม่มีที่หลบซ่อนอย่างเพียงพอหรือในกรณีที่ลอกคราบได้ไม่สมบูรณ์ก็เป็นเหตุให้สูญเสียรยางค์ได้เช่นกัน
ปัจจัยที่มีผลต่อการลอกคราบของกุ้งเครฟิช
Reviewed by Crayfish
on
11:31:00
Rating: