1. โรคสนิม
มันสามารถดูซับสารอาหาร จากตัวสัตว์น้ำได้ ทำให้เกิดบาดแผล ติดเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อราแทรกซ้อนได้ นำมาซึ่งสาเหตุการตายที่สำคัญของสัตว์น้ำ สัตว์ น้ำป่วยเป็นโรค จะเซื่องซึม ไม่ค่อยเคลื่อนไหว ไม่กินอาหาร ปัญหาโรคสนิมนี่เกิดได้ ทั้งในปลา และ ในกุ้งครับ นอกจากนี้ ยังมีโรคในกลุ่มของ โรควิบริโอซีส ที่เป็นอันตรายต่อกุ้งเครฟิชได้
อาการ : ตามระยางค์ของกุ้งจะเกิดมีรอยไหม้สีดำเกิดขึ้น จากการที่กุ้งพยายามสร้างเม็ดสี การอักเสบบริเวณตับ ตับอ่อน ตับฝ่อ การกินอาหารลดลงและอาจตายได้ (มีการเกิดระบาดโดยเฉพาะในขณะที่น้ำมีความเค็มสูง = 20-30 ppt.)
สาเหตุของโรค: จากการติดเชื้อวิบริโอ (Vibrio spp.)
การรักษา
1. ใช้สารเคมีกลุ่มไอโอดีน
2. ใช้ยาในกลุ่มยาปฏิชีวนะ
การป้องกัน
1. ควบคุมปริมาณอาหารที่ให้อยู่ในระดับเหมาะสม
2. การเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำ และควบคุมปัจจัยต่างๆ ให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ผู้เลี้ยงควรจะรักษาคุณภาพของน้ำให้สะอาดอยู่เสมอ เนื่องจากหากว่าคุณภาพน้ำไม่ดี กุ้งจะลอกคราบไม่ผ่าน และโรคสนิมนี้จะลุกลามเร็วมาก มีอัตราการตายสูง
วิธีรักษาเบื้องต้น คือ การถ่ายน้ำและเร่งให้กุ้งลอกคราบออกเสีย จากนั้นจึงตักคราบทิ้งทันที เร่งการลอกคราบทำได้โดยการถ่ายน้ำด้วยน้ำที่มีค่า Alkalinity สูงกว่าอยู่ในตู้ หรือปรับน้ำให้มีค่าอยู่ในช่วงที่จะกระตุ้นได้ ( น้ำจืด 80 – 100 ppm น้ำเค็ม 150 – 200 ppm ) หากยังเป็นโรคนี้ขึ้นมาอีกให้ใช้ยา Chioramphenicol 5-7 MG ผสมอาหาร 1 ขีด ให้กินติดต่อกันจนกว่าจะหาย ( ต้องคำนวณปริมาณยารักษาให้เหมาะสม และถูกต้อง ไม่อย่างนั้น จะเกิดอันตรายต่อกุ้งได้ ) โดยปกติแล้วกุ้งที่มีสุขภาพดี และ คุณภาพน้ำเหมาะสม จะลอกคราบเดือนละ 1 – 2 ครั้ง ขึ้นกับชนิดและวัยของกุ้งด้วย ซึ่งถึงแม้ว่ากุ้งจะไม่ค่อยเป็นโรค แต่ถ้าเป็นแล้วจะรุนแรง และ สูญเสียเร็วมาก จึงต้องมีการเอาใจใส่เป็นอย่างดีครับ การดูแลกุ้งเครฟิชให้มีสุขภาพดี ด้วยระบบน้ำที่สะอาด และ อาหารที่มีคุณภาพ จะช่วยป้องกันให้กุ้งมีโอกาศเป็นโรคนี้ น้อยลง
2. โรคหางพอง
โรคหางพอง เกิดจากน้ําสกปรกครับ ขนาดเปลี่ยนน้ําบ่อย ให้อาหารน้อยๆ น้ํายังเสียได้ วิธีแก้ก็ตัดตรงส่วนที่พองออก แล้วก็นํากุ้งไปแช่น้ําเกลือ 10-15 นาที พอกุ้งลอกคราบก็จะกลับมาปกติเหมือนเดิม
3. ปัญหากุ้งกินกันเอง
ควรที่จะมีที่หลบให้กุ้งมากๆ ซึ้งเวลาที่กุ้งลอกคราบ กุ้งจะนอนนิ่งถ้าหากไม่มีที่หลบอาจจะโดนกุ้งตัวอื่นจับกินได้
***ถ้าหากกุ้งตายหรือโดนกินจะสังเกตได้จากเม็ดแคลเซียมสีขาวๆที่ตกอยู่ในบ่อโดย 1 ตัว จะมี 2 เม็ดซึ่งสามารถเดาได้เลยว่ากุ้งของเรากินกันไปกี่ตัว ยิ่งเม็ดใหญ่เท่าไหร่แสดงว่ากุ้งที่โดนกินก็ใหญ่เท่านั้น
4. กุ้งนักปีนป่าย
จากลักษณะของขากุ้งที่เป็นขาที่สามารถคีบได้ จึงทําให้กุ้งสามารถปินป้ายสิ่งต่างๆได้ดีเลยทีเดียว เลยต้องป้องกันด้วยการปิดฝา หรือ ล้อมตาข่ายดักกุ้งไว้ เพื่อที่กุ้งจะได้ ออกไปหนีเที่ยวไม่ได้
5. ปัญหาลูกกุ้งน็อคน้ำ
เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยมากในช่วงฤดูฝนสําหรับผู้ที่เลี้ยงกุ้งกลางแจ้ง ทําให้น้ําฝนตกลงไปในบ่อกุ้ง สาเหตุของกุ้งน็อคน้ําเกิดจาก น้ําในบ่อเดิมมีน้อยกว่าน้ําฝนที่เติมลงไป ทําให้กุ้งปรับสภาพไม่ทันน็อคน้ําตายไปในที่สุด
วิธีป้องกัน
- ควรเปิดปั้มมลมแรงๆเพื่อที่จะให้ของเสียที่มากับน้ําฝนแตกตัวออกไป แล้วโมเลกุลของน้ําไปจับกับอ๊อกซิเจนแทน
- ควรมีผ้ายาง หรือ ผ้าใบพลาสติกปิดไว้บ้างเพื่อที่จะลดปริมาณการเพิ่มของน้ําอย่างรวดเร็ว จนกุ้งปรับตัวไม่ทัน
- ควรใส่พื้นน้ําลงไปในบ่อเลี้ยงกุ้งด้วย เพื่อช่วยดูดซับของเสียที่มาจากน้ําฝนแล้วก็ลดแรงกระแทก ขณะฝนตกลงสู้ผิวน้ํา น้ําจะได้ไม่เคลื่อนไหวเร็วเกินไป
อาจเกิดจากแม่กุ้งคิดว่าไม่ปลอดภัยเลยสลัดไข่ทิ้ง ซึ้งเกิดจาก น้ําไม่สะอาด มีสิ่งรบกวน เช่นกุ้งตัวอื่น แสงที่มากไป เสียงดังไป ควรที่จะจับแยกแม่ไข่ไว้ตัวเดียวในตะกร้า หรือกะละมัง เพื่อที่จะไม่ให้กุ้งตัวอื่นมารบกวน ในขณะที่แม่กุ้งไข่ถ้าไม่จับแยก ก็ไม่ควรเปลี่ยนน้ํา เพราะถ้าอุณหภูมิเปลี่ยนกะทันหันแม่กุ้งอาจสลัดไข่ทิ้งได้ อาหารควรให้วันละ 2-3 เม็ดก็พอ
การลอกคราบไม่ผ่านนั้น อาจเกิดจากมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของน้ํามากเกินไป และอาจเกิดจากตัวกุ้งสะสมสารอาหารไม่เพียงพอ นอกจากอาหารเม็ดสําเร็จรูปแล้ว ก็ควรมีอาหารเสริมให้กุ้งด้วย เพื่อเพิ่มสารอาหารให้กุ้งอีกทางหนึ่ง
วิธีป้องกัน
- ควรเปิดปั้มมลมแรงๆเพื่อที่จะให้ของเสียที่มากับน้ําฝนแตกตัวออกไป แล้วโมเลกุลของน้ําไปจับกับอ๊อกซิเจนแทน
- ควรมีผ้ายาง หรือ ผ้าใบพลาสติกปิดไว้บ้างเพื่อที่จะลดปริมาณการเพิ่มของน้ําอย่างรวดเร็ว จนกุ้งปรับตัวไม่ทัน
- ควรใส่พื้นน้ําลงไปในบ่อเลี้ยงกุ้งด้วย เพื่อช่วยดูดซับของเสียที่มาจากน้ําฝนแล้วก็ลดแรงกระแทก ขณะฝนตกลงสู้ผิวน้ํา น้ําจะได้ไม่เคลื่อนไหวเร็วเกินไป
6.ปัญหาแม่กุ้งสลัดไข่
อาจเกิดจากแม่กุ้งคิดว่าไม่ปลอดภัยเลยสลัดไข่ทิ้ง ซึ้งเกิดจาก น้ําไม่สะอาด มีสิ่งรบกวน เช่นกุ้งตัวอื่น แสงที่มากไป เสียงดังไป ควรที่จะจับแยกแม่ไข่ไว้ตัวเดียวในตะกร้า หรือกะละมัง เพื่อที่จะไม่ให้กุ้งตัวอื่นมารบกวน ในขณะที่แม่กุ้งไข่ถ้าไม่จับแยก ก็ไม่ควรเปลี่ยนน้ํา เพราะถ้าอุณหภูมิเปลี่ยนกะทันหันแม่กุ้งอาจสลัดไข่ทิ้งได้ อาหารควรให้วันละ 2-3 เม็ดก็พอ
7. ปัญญหากุ้งลอกคราบไม่ออก
การลอกคราบไม่ผ่านนั้น อาจเกิดจากมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของน้ํามากเกินไป และอาจเกิดจากตัวกุ้งสะสมสารอาหารไม่เพียงพอ นอกจากอาหารเม็ดสําเร็จรูปแล้ว ก็ควรมีอาหารเสริมให้กุ้งด้วย เพื่อเพิ่มสารอาหารให้กุ้งอีกทางหนึ่ง
8. รับมือเหตุฉุกเฉินยามไฟดับหรือปั้มลมดับ
(ลายมือไม่สวยแค่มองภาพออกก็พอน่ะครับ)
เราจะหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยสําหรับ ท่านใดที่เลี้ยงกุ้งด้วยปั้มลม หากเกิดเหตุฉุกเฉินไฟดับ หรือปั้มลมดับให้ใช้ตะกร้าคว้ํา หรือ สแลน ตะข่ายสีฟ้า ก็ได้ มาไว้ในบ่อ เพื่อยามฉุกเฉินให้กุ้งได้ปินขึ้นมาหายใจ
โรคและปัญหาในการเลี้ยงกุ้งก้ามแดง
Reviewed by ไม่ระบุชื่อ
on
22:14:00
Rating: