โรคหางพอง โรคหางกร่อน มีสาเหตุมาจากอะไร?


สาเหตุหลัก 

     1. น้ำเสียเป็นหลัก เช่น ไม่ค่อยเปลี่ยนน้ำ ทำความสะอาดบ่อเลี้ยง ไม่เก็บเศษอาหารทิ้ง ทำให้ค่า แอมโมเนีย(NH4) มากเกินไป
     2. เกิดจากแคลเซียมที่เครฟิชได้รับไม่เพียงพอ (ไม่กินอาหาร)โดยน้ำจืด น้ำประปาจะไม่มีแคลเซียมในน้ำ(ต้องเสริม)
     3. อุณหภูมิของน้ำที่เครฟิชอยู่ในช่วง 25 - 29 C ถ้าอุณหภูมิน้ำสูงถึง 30 C จะทำให้เกิดคราบสนิมตะกอนเกิดที่ก้าม-ลำตัว-ส่วนหัว
     4. เกิดบาดแผล จะวัสดุปูพื้น โดยเฉพาะกันพื้นที่มีความหยาบมาก โดยธรรมชาติของเครฟิช จะเดินที่พื้นก้นบ่อไม่ได้ว่ายน้ำเหมือนปลา

การป้องกัน

     1. เปลี่ยนถ่ายน้ำอย่างสม่ำเสมอ ช้อนเศษอาหารทิ้งเป็นประจำทุก 3วัน หรือเลี้ยงปลาหางนกยูง ปลาสอดแดง ปลาตะกูลกินพืช(ที่ว่ายน้ำเร็ว) เพื่อเก็บเศษอาหารเหลือก้นบ่อกิน ในกรณีที่มีระบบกรองควรทำการล้างระบบกรองน้ำทุก 10-15 วัน โดยเปลี่ยนใยกรองแผ่นใหม่ทุก 1 เดือน
     2. แคลเซียมโดยมากจะได้รับทางอาหารทำให้เปลือกเครฟิชแข็ง(เสริมได้ทางอื่น เช่นทางน้ำ)
     3. อุณหภูมิยิ่งสูงทำให้เครฟิชไม่ค่อยอยากอาหาร โดยมากจะเกิดจากแอมโมเนียในน้ำสูง
     4. เกิดบาดแผลจากการเสียดสีกันวัสดุปูพื้นบ่อเป็นเวลานาน

อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม 

     1. ภาชนะพลาสติดที่ใส่เครฟิช
     2. เกลือแกง
     3. กรรไกรคม ควรมีปลายแหลมและเรียว (กรรไกรแต่งกิ่งไม้น้ำ)
     4. ยาแก้อักเสบ(แกะใช้แต่ผงยา) แบบแคปซูล ผมใช้ ทีซีไมซิน หรือไบโอน็อบ(เป็นน้ำ)
     5. ใบต้นหูกวางแห้ง 5-6 ใบ

วิธีการรักษา

     1. เตรียมภาชนะใส่น้ำเกลือแกงความเข้มข้น อัตราส่วน น้ำ 1 ลิตร ต่อ เกลือแกง 4-6 ช้อนโต๊ะ ถ้าในกรณีเป็นช้อนสั้น ใช้ 2-3 ช้อน โดยให้ใส่น้ำก่อนแล้วค่อยใส่เกลือ ทิ้งไว้ให้เกลือละลาย 1-2 นาทีไม่ต้องคน
     2. แยกเครฟิชที่เป็นโรคออกมาใส่ในภาชนะที่เตรียมน้ำเกลือแค่ไว้ 5 -10 นาที หลังจากนั้นใช้กรรไกรตัดให้เลยส่วนที่พองหรือกร่อนขึ้นมาประมาณ1มิล จากนั้นใช้ยาแก้อักเสบทางบริเวณที่ตัดแต่ง แช่เครฟิชทิ้งไว้ในน้ำเกลืออีก 10 นาที เป็นอันเสร็จ
     3. จัดการแยกตู้เพื่อสังเกตุอาการประมาณ 3 วัน โดยใส่ใบหูกวางแช่ไว้ในน้ำจะออกสีเหลือง ช่วงนี้ให้อาหารได้เล็กน้อยโดนสังเหตุว่าเครฟิชกินอาหารหรือไม่ ถ้ากินอาหารก็ให้ถ้าไม่กินก็ไม่ต้องให้
     4. ภายหลังจาก 3 วันจะสังเกตุได้ว่าบริเวณที่ส่วนที่ตัดออกจะมีสีน้ำตาลเข้มๆ เป็นอันเสร็จสินขั้นตอน
     5. ในกรณีที่ส่วนที่ตัดยังเป็นสีขาว/เหลือง ต้องทำการตัดใหม่โดยทำตามข้อ 1 ใหม่อีกรอบ




โรคหางพอง โรคหางกร่อน มีสาเหตุมาจากอะไร? โรคหางพอง โรคหางกร่อน  มีสาเหตุมาจากอะไร? Reviewed by Crayfish on 11:12:00 Rating: 5
loading...
ขับเคลื่อนโดย Blogger.